วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ลำดับและการติดตั้ง Driver ให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ


ลำดับและการติดตั้ง Driver ให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ

การติดตั้ง Driver ให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งหากเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่เป็นแบบรุ่นเก่า ๆ อาจจะไม่ต้องทำอะไรเลยเพราะว่า Windows จะจัดการกับ Driver ต่าง ๆ ให้เรียบร้อยแล้ว หรือที่เรียกกันว่า Plug and Play นั่นแหละ แต่ถ้าหากอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้งานเป็นรุ่นใหม่ ก็ต้องมาทำการติดตั้ง Driver ของอุปกรณ์ต่าง ๆ เองเพื่อให้สามารถใช้งานอุปกรณ์เหล่านั้นได้สมบูรณ์



 

          การติดตั้ง Driver จะเริ่มจากไดร์เวอร์สำหรับเมนบอร์ดก่อน(ถ้ามี)  เนื่องจากเป็นตัวกลางหลักที่เชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ต่างๆอีกที  จึงต้องจัดการให้เรียบร้อยก่อน  ไดร์เวอร์สำหรับเมนบอร์ดนี้หมายรวมถึงไดร์เวอร์สำหรับอุปกรณ์พิเศษอื่นๆที่อยู่บนเมนบอร์ดด้วย  จากนั้นบู๊ตเครื่อง 1 ครั้งเพื่อให้ไดร์เวอร์ถูกโหลดและทำงานเสียก่อนค่อยติดตั้งไดร์เวอร์อื่นๆต่อไป

                        ลำดับถัดมาที่ควรติดตั้งคือ  ไดร์เวอร์การ์ดแสดงผล  ซึ่งเป็นไดร์เวอร์ที่จำเป็นรองจากเมนบอร์ด  หลังจากติดตั้งเสร็จ บู๊ตเครื่องและปรับค่าต่างๆของหน้าจอให้เรียบร้อย  แล้วจึงค่อยติดตั้งไดร์เวอร์อื่นต่อไป  โดนจะติดตั้งตัวไหนก่อนหลังอย่างไรก็ไม่มีปัญหา



          วิธีติดตั้งไดร์เวอร์

          สำหรับการติดตั้ง Driverสำหรับอุปกรณ์ต่างๆนั้น  อาจแบ่งวิธีติดตั้งได้ 3 วิธีแตกต่างกันในเรื่องขั้นตอนและโปรแกรมที่เกี่ยวข้อง คือ

1.     ให้ windows ตรวจสอบและค้นหาให้เองอัตโนมัติ

2.    ใช้โปรแกรมติดตั้งสำเร็จรูปที่ให้มาพร้อมกับอุปกรณ์ ซึ่งในปัจจุบันเป็นแผ่นซีดีหรือดีวีดี

3.    เรียกใช้ Add New Hardware Wizardช่วยในการติดตั้งไดร์เวอร์ให้กับอุปกรณ์



สามารถศึกษาต่อได้ที่นี้ครับ >> http://www.thainame.net/project/anuwat098/index.html

 

การเลือกใช้วินโดวส์XP ที่เหมาะสมในการทำงาน


 การเลือกใช้วินโดวส์XP ที่เหมาะสมในการทำงาน  

         วินโดวส์ xp ทั้งเวอร์ชั่นเดิมและเวอร์ชั่นปรับแต่ง รวมกันแล้วมีหลายสิบเวอร์ชั่น แต่ที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพจริงๆมีอยู่ไม่กี่เวอร์ชั่นครับ  ที่ได้รับการยอมรับที่สุดคือ เวอร์ชั่นดั้งเดิมจากไมโครซอฟต์ แต่เนื่องด้วยความต้องการที่มีอยู่อย่างหลากหลาย และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ถูกผลิตขึ้นมาใหม่แทบเดือนชนเดือนวินโดวส์ xp แบบดั้งเดิมตัวเดียวไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้ทั้งหมด  และซับพอตอุปกรณ์ทุกตัว วินโดวส์ปรับแต่งจึงเป็นอีกทางเลือกนึงที่น่าสนใจและจริงๆแล้วก็โดนใจ ใครหลายคน ทั้งผู้ใช้งานทั่วไปที่ไม่มีทักษะมาก และผู้ที่ชอบปรับแต่งคอมพิวเตอร์

        การปรับแต่งนั้นคือการทำให้ตอบสนองความต้องการมากขึ้น เช่น เร็วขึ้น ซับพอตอุปกรณ์ใหม่ๆ มากขึ้น  มีพลักอินที่เสริมการทำงานโดยที่เราไม่ต้องไปหาดาวโหลด หรือตั้งค่าให้ปวดเศียรเวียนเกล้าทุกครั้ง ที่ติดตั้งวินโดวส์ใหม่ ทั้งๆที่เราต้องใช้งานอยู่แล้ว แต่การปรับแต่งวินโดวส์ หรือ integrade นั้นทำให้สูญเสียประสิทธิภาพ และความเสถียรลงไปด้วย วินโดวส์เวอร์ชั่นปรับแต่ง จึงมีข้อผิดพลาดและมักใช้ไม่ได้นาน ต้องติดตั้งใหม่ แต่หากคุณชอบเรื่องการปรับแต่ง ก็มักชอบความแปลกใหม่ด้วย วินโดวส์ปรับแต่งจึงเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย  จนวินโดวส์แท้ เดิมๆนั้นแทบเลือนไปจากกระแส


     แต่ หากถามว่าวินโดวส์รุ่นใดดีที่สุด ตอบว่าวินโดวส์เวอร์ชั่นที่เหมาะกับการใช้งานของคุณมากที่สุดนั่นแหละครับ
 
    ในบทความนี้ วินโดวส์แค่จะแนะนำวิธีเลือกซื้อ เลือกใช้งาน windows อย่างไรที่ท่านจะได้ประโยชน์ที่สุด ส่วนจะเป็นรุ่นไหนนั้น "คุณ" ต้องตอบเอง
เลือกใช้ windows เวอร์ชั่นไหนดี
       หากคุณชอบอะไรแปลกใหม่ชอบปรับแต่ง วินโดวส์ปรับแต่งสายพันธ์ใหม่ อย่าง Windows xp sp3 TrueFaster    เป็นเวอร์ชั่นที่น่าสนใจ

      หากคุณเป็นนักเซิฟ ใช้งานหลากหลาย เสาะแสวงหาโปรแกรมใหม่ๆมาทดลองใช้ คุณลักษณะพร้อมใช้งานของ window dark edition  V.7  ตอบโจทย์ได้ดี เนื่องจากมาพร้อมสรรพ ทั้งไดรเวอร์ ทั้งโปรแกรมและ features ใหม่ๆ  แบบ vista

      หากชอบความสมบูรณ์แบบ feature ใหม่หน้าตาเฉิดฉาย และเปี่ยมประสิทธิภาพ windows xp vortex vista นับว่ายอดนิยมในปี 2008 เนื่องจาก มีความสมบูรณ์มากแม้จะมีการปรับแต่ง นับว่าเป็นงานศัลยกรรมชิ้นเอก


      พอได้มาตราฐาน เวอร์ชั่นกลางๆ  Windows xp vienna   หรือ Windows xp 2006 v.9 ยังคงมีคนใช้งานอยู่ต่อเนื่องมีความเสถียร และทำงานว่องไว

      หากคุณไม่ค่อยใช้งาน เช่นคอมพิวเตอร์ที่มักจะรันโปรแกรมทิ้งไว้ คอมพิวเตอร์ใน lab สอนเด็กนักเรียน หรือเป็นแบบออฟไลน์     ไม่ได้ใช้งานอินเตอร์เน็ตเลย วินโดวส์เวอร์ชั่นเดิมเหมาะสมดี 

      หากต้องการความถูกต้องมากๆ และรับประกันคุณภาพ แบบ professional  แนะนำให้แบบดั้งเดิม และเป็นของแท้ เพราะคุณจะได้  การ บริการพ่วงไปด้วย

      หากคุณมีลูกหลาน และคิดว่าการซื้อคอมพิวเตอร์ให้เป็นการลงทุนเพื่ออนาคตทีดี  แต่ราคาแพงเกินกว่าจะจ่ายได้   แนะนำวินโดวส์ mini ปรับแต่งอีกตัวที่เบามากๆ คอมพิวเตอร์เสป็คไม่แรง จะมือสองหรือของเก่าเก็บก็ใช้ได้

     วินโดวส์ล่าสุดอย่าง windows 7  กึ่ง Vista ใช้ทรัพยากรเครื่องมาก เครื่องเก่า เสป็คไม่ดีไม่ควรใช้

     จะวินโดวส์หรือว่าจะระบบอะไรก็มีข้อผิดพลาดเสมอ  แม้วินโดวส์แท้ๆก็ติดไวรัสได้เหมือนกัน ฉะนั้นก็อย่าคาดหวังมากนัก  เราต้อง back up ข้อมูลเป็นนิสัย รู้จักเลือกใช้สื่อบันทึก เข้าใจการทำงานของคอมพิวเตอร์  วินโดวส์จะเป็นอะไรก็ช่างมัน ลงใหม่ได้ครับ

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วิธีการเติมหมึก

วิธีการเติมหมึก
   
    ตลับหมึก Canon PG810 and Canon CL811 cartridge
   
    Canon Pixma ip2770, Mp258, MP245, MP268, MP276, MP486, MP496
  
   Follow this steps:
   1. Remove the sticker on the print cartridge /แกะสติกเกอร์ออก
   2. Verify each colour on the cartridge / เทียบตำแหน่งหมึกดำและสีตามรูป
   
3. Drill a hole in the cartridge / เจาะรูให้ได้ขนาดใหญ่กว่าเข็ม ตามตำแหน่งของสี
   
4. Refill the cartridge according to correct colour / หมึกดำเติม 5 ซีซ๊. -หมึกสีเติมสีละ 3 ซีซี.เวลาเติมหมึกให้กดซริงค์ช้าๆ ป้องกันการล้นตัวของหมึกจากแรงดันอากาศ
   
.

วิธีเติมหมึก Laser HP Laserjet

วิธีเติมหมึก Laser HP Laserjet




วิธีการเติมหมึกคือ
1.  ถอดน็อตด้านข้าง ด้านที่มี chip ประมาณ 2 ตัวครับ
2.  หลังจากนั้นจะเห็นจุกสีขาวปิดช่องเติมหมึกอยู่ให้เอาจุกสีขาวออก
3.  เทหมึกของเก่าออกให้หมด แล้วเติมผงหมึกใหม่ลงไป
4.  เปลี่ยน chip ใหม่แล้วปิดฝาขันน็อตเป็นอันเสร็จเรียบร้อย
ถ้าจะให้ดีควรทำความสะอาดห้องเก็บหมึกเสียด้วยอยู่ด้านบนชุดดรัมขันน็อต 2 ตัวเหมือนกันครับ ลองดูนะ


เติมหมึกและรีเซ็ท Brother TN-210/150
Brother HL-3040/4040 HL-4040CN/ HL-4050CN/ DCP-9040CN/ MFC-9440CN/ MFC-9840CDW/ DCP- 9042CDN/ MFC-9450CDN/HL-3040CN / HL-3070CW / MFC-9010CN / MFC-9120CN / MFC-9320CN


1.ตลับหมึกสองรุ่นนี้ทั้ง  TN-210 และ 150 สามารถเปิดจุกเติมได้ โดยต้องเอาผงหมึกเก่าออกให้หมดก่อนเติมเพื่อให้ผงหมึกไม่ปนกัน

2. ขั้นตอนการรีเซ็ท (สำหรับตลับที่มีเฟืองรีเซ็ท) สามารถรีเซ็ทได้โดยปรับเลื่อนเฟืองที่ตลับหมึก
 
3.  ถอดฝาด้านข้างตลับหมึกออก จะเห็น Flag gear ที่มีสปริงติดอยู่
4. ปรับเลื่อนเฟืองและสปริงให้อยู่ตำแหน่งดังภาพ
***หากตลับที่ไม่มีเฟือง สามารถรีเซ็ทได้ที่ตัวเครื่องโดยทำขั้นตอน ดังนี้
1. เปิดฝาเครื่องด้านหน้าออก (เครื่องจะขึ้นว่า Cover open )
2. กดปุ่ม Cancel ค้างไว้
3. กดปุ่ม Reprint - จะมีข้อความขึ้นว่า Reset part life
4. ขั้นตอนต่อไปเลือกตลับ(สี) ที่จะรีเซ็ท
    B.TNR-S  รีเซ็ทตลับสีดำ   ให้กดเครื่องหมาย  ^
       C.TNR-S  รีเซ็ทตลับสีฟ้า   ให้กดเครื่องหมาย  ^
    M.TNR-S  รีเซ็ทตลับแดง   ให้กดเครื่องหมาย  ^
    Y.TNR-S  รีเซ็ทตลับเหลือง   ให้กดเครื่องหมาย  ^

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

งานบริการคอมพิวเตอร์

จากความหมายของคำว่า “มัลติมีเดีย” ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์
ที่มีการติดตั้งระบบมัลติมีเดียเข้าไปด้วย เรียกกันโดยทั่วไปว่า “มัลติมีเดียพีซี” (Multimedia Personal
Computer: MPC) ซึ่งมีองค์ประกอบหลัก 5 ส่วน ดังนี้

เครื่องพีซี (Personal Computer : PC)

เครื่องอ่านซีดีรอม (CD-Rom Drive)

ซาวนด์การ์ด (Sound Card หรือ Sound Board)

ลำโพงภายนอก (External Speaker)

ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
  


เครื่องพีซี (Personal Computer :PC)

เครื่องพีซีถือเป็นหัวใจของระบบงานด้านมัลติมีเดีย โดยไมโครโพรเซสเซอร์ที่ใช้จะต้องมีประสิทธิภาพ
ในด้านความเร็วของสัญญาณนาฬิกา (Clock Speed) โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นเครื่องที่ออกแบบมา
เพื่อใช้งานด้านมัลติมีเดียจะยิ่งมีประสิทธิภาพในการประมวลผลสัญญาณภาพ และเสียงดีกว่า
ไมโครโพรเซสเซอร์ทั่วๆ ไป เช่น ซีพียูตระกูล MMX ของ Intel เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องมีหน่วยความ
จำของเครื่อง (Ram) มากพอที่จะใช้เก็บไฟล์ภาพที่มีขนาดใหญ่ได้และติดตั้งแผงวงจรเร่งความาเร็วการ
ประมวลผลภาพกราฟฟิค (Graphic Accelerator Board) นอกจากนี้ ยังต้องมีโครงสร้างทาง
สถาปัตยกรรมที่สอดคล้องกับอุปกรณ์ต่อพ่วง (Peripheral Devices) ที่มีอัตราการสื่อสารข้อมูลที่
รวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพียงพอ ที่จะใช้จัดการเกี่ยวกับภาพและเสียงได้อย่างต่อเนื่องและราบรื่น
โดยไม่เกิดอาการกระตุกและมีสล็อตขยายที่แผงวงจรหลักเพียงพอสำหรับการต่อขยายระบบหรือ
อุปกรณ์สำหรับต่อพ่วงในอนาคต รวมทั้งมีหน่วยจัดเก็บข้อมูลสำรอง ซึ่งได้แก่ ฮาร์ดดิสก์หรืออุปกรณ์
ชนิดอื่นๆ ที่มีขนาดความจุสูงและยังต้องมีจอภาพสีและแผงวงจรควบคุมการแสดงผลจอภาพที่สามารถ
แสดงภาพที่มีความละเอียดสูง
เครื่องอ่านซีดีรอม (CD-ROM Drive)

เครื่องอ่านซีดีรองนับว่าเป็ฯส่วนประกอบที่สำคัญในการจัดเก็บข้อมูลและการนำเสนองานด้านมัลติมีเดีย
คุณสมบัติพื้นฐานของเครื่องซีดีรอมก็คือ ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล รวมทั้งอัตราการส่งถ่ายข้อมูลเพื่อ
อำนวยความสะดวกในการจัดการเกี่ยวกับภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการนำเสนอภาพเคลื่อนไหวที่ต้อง
แสดงผลของแต่ละภาพอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ปรากฎอาการภาพสะดุดหรือกระตุกที่เกิดจากการที่เครื่อง
คอมพิวเตอร์ดึงข้อมูลภาพจากหน่วยจัดเก็บข้อมูลช้ากว่าการแสดงภาพ การเลือกใช้เครื่องอ่านซีดีรอม
จะพิจารณาจากจำนวนเท่าในการอ่านข้อมูล เช่น 52 เท่าหรือ 52x ซึ่งหมายถึงอัตราการส่งถ่ายข้อมูล
ทีได้จากการอ่านซีดีรอมนั่นเอง แผ่นซีดีรอมขนาด 5.25 นิ้วแต่ละแผ่นจะสามารถบันทึกข้อมูลได้ถึง
700 MB(โดยประมาณ) หรือบันทึกสัญญาณเสียงได้นานประมาณ 80 นาที แต่ถ้าเป็นแผ่นซีดีรอม
ขนาดเล็ก 8 ซม. จะสามารถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 185 MB หรือบันทึกสัญญาณเสียงได้นาน
21 นาทีดั


ปัจจุบันได้มีการผลิตเครื่องอ่านซีดีรอม โดยใช้เทคโนโลยีดีวีดี (DVD ย่อมาจาก Digital Video Disc)
ทำให้แผ่นดีวีดีรอมแต่ละแผ่นสามารถบันทึกข้อมูลแบบความจุสูง(high Density) ได้ถึง 9.4 GB
จุดเด่นของเครื่องอ่านดีวีดีรอมก็คือ สามารถอ่านข้อมูลจากทั้งแผ่นดีวีดีแผ่นซีดีปกติได้ ในขณะที่เครื่อง
อ่านซีดีรอมไม่สามารถอ่านข้อมูลจากแผ่นดีวีดีรอมได้ และพัฒนาการของเครื่องอ่านดีวีดีรอมยังคงมีการ
เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันมีการผลิตเครื่องอ่านแบบคู่ที่มีศักยภาพรองรับการอ่านและการ
เขียนแผ่นซีดีและดีวีดีภายในเครื่องเดียว ซึ่งอำนวยความสะดวกในการทำงานมากยิ่งขึ้น

ซาวนด์การ์ด (Sound Card หรือ Sound Board)

ซาวนด์การ์ด (Sound Card หรือ Sound Board) หรือแผงวงจรเสียงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอีกส่วน
หนึ่งของมัลติมีเดียพีวี มีหน้าที่หลักในการเก็บบันทึกเสียง และแสดงผลเสียงจากโปรแกรมสำหรับงาน
ด้านมัลติมีเดียโดยสามารถทำการบันทึกเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงต่างๆ เช่น ไมโครโฟน เครื่องดนตรี
หรือแหล่งกำเนิดเสียงอื่นๆ จากนั้นจะทำการแปลงสัญญาณให้อยู่ในรูปแบบของดิจิตอล ซึ่งสามารถ
เก็บไฟล์เสียงไว้ในหน่วยจัดเก็บข้อมูลสำรอง โดยสัญญาณดิจิตอลจากไฟล์เสียงเหล่านี้จะส่งกลับไป
ยังซาวนด์การ์ด เพื่อแปลงสัญญาณให้เป็นแบบอนาล็อก ทำให้สามารถได้ยินเสียงจากไฟล์ที่ทำการนำ
เข้าหรือบันทึกนั้นได้ด้วยอุปกรณ์แสดงผลทางเสียง เช่น ลำโพง หูฟัง
 
ลำโพงภายนอก (External Speaker)

ลำโพงภายนอก (External Speaker) เป็นส่วนสำคัญที่สนับสนุนให้มัลติมีเดียคอมพิวเตอร์สามารถเล่น
เสียงระดับไฮไฟที่มีคุณภาพได้ นอกจากความสามารถในการจัดการด้านเสียงของซาวนด์การ์ดแล้ว
ปัจจุบันได้มีผู้ผลิตลำโพงภายนอกที่มีขีดความสามารถที่หลากหลาย นอกจากนี้ยังเพิ่มคุณภาพในหลาย
ระดับด้วยกัน เช่น ระดับธรรมดา ระดับคุณภาพสูงที่ประกอบด้วยทั้งลำโพงเสียงแหลม ลำโพงเสียงกลาง
และลำโพงเสียงทุ้ม เป็นต้น คล้ายกับระบบเครื่องเสียงชั้นดีทั่วไป ลำโพงภายนอกจึงจัดว่าเป็น
ส่วนประกอบพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับมัลติมีเดียพีซีเนื่องจากการถ่ายทอดเสียงที่ชัดเจนและต้องครอบ
คลุมย่านความถี่เสียงได้หลากหลาย จนกลายเป็นส่วนประกอบสำคัญของระบบมัลติมีเดียในยุคปัจจุบัน
ที่ขาดไม่ได้


ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)


ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับจัดการด้านมัลติมีเดีย ภายใต้โปรแกรมระบบปฏิบัติการ
ที่ทำงานสัมพันธ์กับเครื่องพีซีและอุปกรณ์ประกอบ สามารถจำแนกซอฟต์แวร์ประยุกต์ตามลักษณะงาน
ได้ 2 ประเภทใหญ่ ได้แก่ 1)ซอฟต์แวร์ประยุกต์ประเภทคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย (Application
Software for Multimedia Computer Assisted Instruction) เช่น Icon Author, Toolbook
และ Macromedia Authorware เป็นต้น ซึ่งโปรแกรมนี้สามารถเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า
โปรแกรมระบบสร้างสื่อการสอน 2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ประเภทนำเสนองานมัลติมีเดีย (Application
Software for Multimedia Presentation) เช่น Macromedia Director MX, Shockwave และ
Macromedia Flash MX เป็นต้น


สำหรับองค์ประกอบทั้ง 5 ส่วนของมัลติมีเดียพีซีตามที่ได้มาข้างต้น นับได้ว่าเป็นส่วนประกอบขั้น
พื้นฐานของมัลติมีเดียพีซีที่สนับสนุนการใช้งานด้านมัลติมีเดียทั่วไป หากต้องการพัฒนางานมัลติมีเดีย
เฉพาะทาง เช่น ทำวีดีโอจำเป็นต้องขยายขีดความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยอุปกรณ์ต่อพ่วง
พิเศษ เช่น ติดตั้งแผงวงจรจัดการเกี่ยวกับภาพเคลื่อนไหว (Video Capture Board) ติดตั้งเครื่อง
บันทึกและเล่นภาพวิดีโอ (Video Tape Recorder) เป็นต้น